สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนมองท้องฟ้าเดือนเมษายน 2568 เผยปรากฏการณ์เด่น ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี, ดวงอาทิตย์ตั้งฉากที่กรุงเทพฯ ครั้งที่ 1
วันที่ 1 เมษายน 2568 มีรายงานว่า แฟนเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. เผยปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่น่าสนใจประจำเดือนเมษายน 2568 ดังนี้
- 5 เมษายน 2568 ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 01.20 น.
- 8 เมษายน 2568 ดาวเคียงเดือน ดาวเรกูลัสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 19.00 น. จนถึงเวลา 03.25 น.
- 13 เมษายน 2568 ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี (Micro Full Moon) มีระยะห่างจากโลกประมาณ 405,909 กิโลเมตร สังเกตดวงจันทร์ได้ตลอดทั้งคืน
- คืน 16 ถึงเช้า 17 เมษายน 2568 ดาวเคียงเดือน ดาวแอนทาเรสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 22.00 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 17 เม.ย. 68
- 22 เมษายน 2568 ดาวพุธอยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 04.36 น. จนถึงรุ่งเช้า เป็นวันที่เหมาะแก่การสังเกตดาวพุธ
- 24 เมษายน 2568 ดาวศุกร์สว่างที่สุด (ช่วงรุ่งเช้า) สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 03.05 น. จนถึงรุ่งเช้า
- 25 เมษายน 2568 ดาวเคียงเดือน ดาวศุกร์ และดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 04.00 น. จนถึงรุ่งเช้า
26 เมษายน 2568 ดาวเคียงเดือน ดาวพุธเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 04.40 น. จนถึงรุ่งเช้า
- 27 เมษายน 2568 ดวงอาทิตย์ตั้งฉากที่กรุงเทพฯ (ครั้งที่ 1) เวลาประมาณ 12.16 น. หากสังเกตวัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาจะตกอยู่ใต้วัตถุพอดี.
ข้อมูลจาก แฟนเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ