แสงที่มองเห็นได้จากแหล่งที่มารังสีเอกซ์

แสงที่มองเห็นได้จากแหล่งที่มารังสีเอกซ์

แม้ว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา และองค์การอวกาศยุโรป จะไม่สามารถมองเห็นรังสีเอกซ์ได้ แต่เมื่อเร็วๆนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ไปประสานงานกับกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้รังสีเอกซ์ เช่น กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา ขององค์การนาซา เผยให้เห็นแหล่งที่มาของการแผ่รังสีเอกซ์ ด้วยความละเอียดสูงโดยใช้แสงที่มองเห็นได้

ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลภาพนี้ ประกอบด้วยกาแล็กซีแคระที่ชื่อ IC 776 นักดาราศาสตร์ยังแจกแจงว่ามีกลุ่มดาวใหม่และดาวเก่าหมุนวนอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว ซึ่งอยู่ในกระจุกกาแล็กซีในกลุ่มดาวหญิงสาว อยู่ห่างจากโลก 100 ล้านปีแสง แม้ว่า IC 776 จะเป็นกาแล็กซีแคระ แต่ก็ถูกจัดประเภทเป็นกาแล็กซีทรงกังหันประเภท SAB หรือมีคานกังหันที่อ่อนแอ มุมมองของกล้องฮับเบิลที่มีรายละเอียดสูงนี้ ชี้ให้เห็นถึงความซับซ้อนใน IC 776 มันมีจานฝุ่นก๊าซที่ถูกรบกวน ดูเหมือนหมุนวนรอบแกนกลาง

ทีมนักดาราศาสตร์เผยว่า การค้นหาการเปล่งแสงที่มองเห็นได้จากแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในกาแล็กซีจำพวกนี้ พบว่ารังสีเอกซ์มักถูกปล่อยออกมาจากจานฝุ่นที่สะสมมวลสาร วัสดุที่ถูกดึงเข้าไปยัง “วัตถุที่มีขนาดกะทัดรัด” ด้วยแรงโน้มถ่วงจะชนกันและก่อตัวเป็นจานที่ร้อนและเรืองแสง ซึ่งวัตถุที่มีขนาดกะทัดรัด อาจเป็นดาวแคระขาวหรือดาวนิวตรอนในระบบดาวคู่ หรืออาจเป็นหลุมดำมวลยวดยิ่งใจกลางกาแล็กซี ที่กำลังกลืนกินวัตถุรอบๆตัวมัน.

Credit : ESA/Hubble & NASA, M. Sun

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,490 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *