ผู้รอดชีวิตจากค่ายมรณะของนาซี ที่เอาช์วิทซ์-เบอร์เคอเนา ประมาณ 50 คน จะกลับมายังสถานที่ดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อร่วมรำลึกถึงวันที่ค่ายแห่งนี้ได้รับการปลดปล่อยเมื่อวันที่ 27 มกราคม 1945 หรือเมื่อ 80 ปีก่อน
ผู้รอดชีวิตจากค่ายมรณะของนาซี ที่เอาช์วิทซ์-เบอร์เคอเนา ประมาณ 50 คน จะกลับมายังสถานที่ดังกล่าวอีกครั้ง เพื่อร่วมรำลึกถึงวันที่ค่ายแห่งนี้ได้รับการปลดปล่อยเมื่อวันที่ 27 มกราคม 1945 หรือเมื่อ 80 ปีก่อน ร่วมกับผู้นำของชาติต่างๆ เช่น นายเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส และแฟรงก์-วอลเตอร์ สไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีเยอรมนี และราชวงศ์ในยุโรป
โดยมีการสร้างเต็นท์ขนาดใหญ่เหนือ “ประตูแห่งความตาย” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของทางเข้าเบอร์เคอเนา การรำลึกจะเริ่มต้นด้วยผู้รอดชีวิตและประธานาธิบดีโปแลนด์ อันเดรจ ดูดา วางพวงหรีดที่ “กำแพงแห่งความตาย” ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์แห่งแรก ซึ่งนักโทษชาวโปแลนด์ ชาวยิว และเชลยศึกโซเวียตหลายพันคนถูกยิงเสียชีวิต ก่อนที่ จะย้ายไปที่ค่ายมรณะเอาชวิทซ์ 2-เบอร์เคอเนา
พิธีครั้งนี้จะไม่มีการกล่าวสุนทรพจน์ทางการเมืองจากผู้นำนานาชาติ รวมถึงไม่มีรัสเซียในพิธีรำลึก เนื่องจากสงครามเต็มรูปแบบที่เริ่มขึ้นกับยูเครนเมื่อเกือบสามปีก่อน
การตัดสินใจของนาซีที่จะกวาดล้างประชากรชาวยิวในยุโรปด้วยค่ายกักกัน เริ่มดำเนินการในช่วงต้นปี 1942 มีการสร้างค่ายกักกัน 6 แห่งในโปแลนด์ ได้แก่ ที่เชลมโน เบลเซค โซบิบอร์ เทรบลิงกา มัจดาเนก และเอาช์วิทซ์-เบอร์เคอเนา โดยที่เมืองเทรบลิงกา ที่มีขนาดเล็กกว่าเอาชวิทซ์มาก แต่กลับมีชาวยิวถูกสังหารที่นั่นถึง 800,000-850,000 คนในช่วงเวลาที่สั้นกว่ามาก
ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ หัวหน้าสูงสุดของหน่วย SS และรูดอล์ฟ ฮอสส์ ผู้บัญชาการค่าย ได้ดูแลการขยายอาคารของเอาช์วิทซ์ เพื่อสร้างค่ายที่สองที่เบียร์เคอเนาสำหรับสังหารหมู่ เมื่อสิ้นสุดปี 1942 พบว่ามีห้องรมแก๊สและเตาเผาแยกกัน 4 แห่ง
การเนรเทศชาวยิวจำนวนมากไปยังเบอร์เคอเนา ชุดแรกมาจากประเทศสโลวาเกียและฝรั่งเศสในเดือนมีนาคม 1942 ชุดต่อมา มาจากประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในเดือนกรกฎาคม พวกเขาต้องเดินเดินผ่านป้ายที่มีข้อความว่า “Arbeit macht frei” (การทำงานจะทำให้คุณเป็นอิสระ) ที่เอาช์วิทซ์ และไปสิ้นสุดที่ค่ายแห่งใหม่
ในไม่ช้า รถไฟก็มาถึงเบอร์เคอเนา ที่ทางลาดที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งอยู่ห่างจากห้องรมแก๊สสองห้องไปไม่ไกล และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ชาวยิว 12,000 คนถูกรมแก๊สและเผาศพทุกวัน
ชาวยิวในยุโรปเกือบล้านคนถูกสังหารที่นี่ตั้งแต่ปี 1941 ถึงปี 1945 แต่ผู้เสียชีวิตยังรวมถึงนักโทษชาวโปแลนด์ประมาณ 70,000 คน นักโทษสงครามชาวโรมานี 21,000 คน และนักโทษสงครามชาวโซเวียต 15,000 คน และชายรักร่วมเพศที่ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด.
ที่มา BBC