ตื่นตา นักวิจัยพบทากทะเลสายพันธุ์ใหม่อยู่ในทะเลลึก

ตื่นตา นักวิจัยพบทากทะเลสายพันธุ์ใหม่อยู่ในทะเลลึก

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยแห่งพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์ เบย์ ชี้ สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่มีลักษณะเหมือนวุ้นเจลาตินเรืองแสงที่พบในทะเลลึกครั้งแรกเมื่อ 20 ปีก่อน คือหอยทากทะเลสายพันธุ์ใหม่

คลิปวิดีโอออนไลน์ที่เผยแพร่โดยสถาบันวิจัยแห่งพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์ เบย์ ในแคลิฟอร์เนีย เผยให้เห็นสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลรูปร่างประหลาด ลักษณะเหมือนวุ้นเจลาตินที่ลอยอยู่ในมหาสมุทรที่มีความลึกในระดับ “โซนกลางคืน” หรือ midnight zone โดยนักวิทยาศาสตร์ได้พบสิ่งมีชีวิตนี้เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000 หรือกว่า 20 ปีก่อน ด้วยการใช้ยานพาหนะระยะไกลที่ความลึก 8,576 ฟุต หรือราว 2,614 เมตร ในมหาสมุทรแปซิฟิก จากนั้นจึงได้เฝ้าสังเกตลักษณะโครงสร้าง และเก็บตัวอย่างมาวิจัย จนได้รู้คำตอบว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้เป็นหอยทากทะเลสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันนี้ได้ระบุลักษณะของหอยทากทะเลตัวใหม่นี้ว่า มีโครงสร้างคลุมศีรษะที่ใหญ่โตอยู่ด้านหนึ่ง และหางแบนที่มีขอบขรุขระคล้ายมือหลายๆ นิ้วที่ด้านตรงข้าม พร้อมกับอวัยวะภายในที่มีสีสันอยู่ระหว่างนั้น ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการจำแนกประเภทสายพันธุ์ของมัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบการพบเห็นสิ่งมีชีวิตนี้มากกว่า 150 ครั้ง และศึกษาในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยได้ข้อสรุปว่ามันเป็นหอยทากทะเลชนิดใหม่หรือที่เรียกกันว่า “นูดิบรังก์” (nudibranch) ซึ่งอาศัยอยู่ในมิดไนท์โซน ซึ่งเป็นพื้นที่ในมหาสมุทรลึกที่มีอุณหภูมิหนาวเย็น ความมืดมิด และความดันมหาศาล โดยผลการค้นพบที่น่าสนใจครั้งนี้ ถูกตีพิมพ์ไว้ในวารสาร Deep-Sea Research Part I .

ที่มา : เอพี

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,813 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You May Have Missed