ตามทฤษฎีที่นิยมเชื่อเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์เมื่อกว่า 66 ล้านปีที่แล้ว ก็คือมีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกตรงทะเลตื้นนอกคาบสมุทรยูกาทัน ของเม็กซิโก วัตถุขนาดเท่าภูเขานี้ได้ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ 100 ล้านลูก ทำลายเปลือกโลกเป็นรอยกว้าง 200 กิโลเมตร ลึก 20 กิโลเมตร ก่อให้เกิดแผ่นดินไหว สึนามิ พายุเพลิงที่รุนแรง อุณหภูมิโลกลดลง ห่วงโซ่อาหารล่มสลาย กลุ่มควันเขม่า และหินระเหยปกคลุมโลก บดบังแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้สิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งสูญพันธุ์รวมถึงไดโนเสาร์
ภัยพิบัติครั้งนั้นยังคงเป็นปริศนา จนกระทั่งมีนักฟิสิกส์ชื่อวอลเตอร์ อัลวาเรซ ได้รวบรวมข้อมูลสารพัดในช่วงทศวรรษ 1970-1980 และพบชั้นเศษซากที่ทับถมกันอยู่ในหินอายุ 66 ล้านปี จากทั่วโลก ที่อุดมด้วยธาตุต่างๆ ที่หายากในเปลือกโลกแต่มีอยู่มากในดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง เช่น รูทีเนียม (โลหะสีเงินที่แทบไม่พบบนพื้นผิวโลก) และ อิริเดียม ล่าสุดมีงานวิจัยของนักธรณีเคมีจากมหาวิทยาลัยโคโลญ ในเยอรมนี ได้ให้คำตอบที่ชัดเจนที่สุด โดยได้ระบุถึงต้นกำเนิดของดาวเคราะห์น้อยดวงนั้นผ่านการวัดไอโซโทปของรูทีเนียมในเศษซาก
ผลวิจัยชี้ว่ารูทีเนียมที่พบนี้ไม่ได้มาจากภูเขาไฟ แต่มาจากแหล่งกำเนิดที่มาจากนอกโลก อย่างชัดเจน นั่นหมายความว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ มีคาร์บอนและสารประกอบอินทรีย์ในปริมาณมากอย่างเห็นได้ชัด เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ค่อนข้างหายาก เชื่อกันว่าก่อตัวขึ้นในระบบสุริยะชั้นนอกเหนือดาวพฤหัสบดี.
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/
This was a really valuable read, thank you.
You have a way of explaining things that really resonates.