ก่อนดื่มเช็คให้ดี! “เมทานอล” อันตรายต่อร่างกายเราขนาดไหน สังเกตอาการอย่างไร?

ก่อนดื่มเช็คให้ดี! “เมทานอล” อันตรายต่อร่างกายเราขนาดไหน สังเกตอาการอย่างไร?

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา มีประกาศเตือนเหล้าเถื่อนในเขตพื้นที่คลองสามวาและหทัยราษฎ์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยจากเหล้านี้ถึง 27 ราย และเสียชีวิตอีก 2 ราย จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่าสุราเถื่อนดังกล่าวมีส่วนผสมของ “เมทานอล” ที่อันตรายต่อร่างกาย

กทม. โคม่าอีกเพียบ เช็กมีอาการนี้รีบไป รพ.
หลายคนเมื่อได้ยินชื่อสาร “เมทานอล” ก็อาจเกิดความสงสัยว่าคืออะไร แล้วอันตรายต่อเราอย่างไร วันนี้ Sanook จะมาไขข้อสงสัยนี้ให้เอง
เมทานอล คืออะไร
สารเมทานอล (methanol) หรือ wood alcohol เป็นสารพิษที่มักใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่มักนำไปเป็นสารฟอร์มาลดีไฮด์ สำหรับผลิตพลาสติก ไม้อัด สี และวัตถุระเบิด เป็นสารที่อันตรายต่อมนุษย์จึงห้ามบริโภคโดยเด็ดขาด

เอทานอล คืออะไร
สารเอทานอล (Ethanol) เป็นอีกหนึ่งสารที่ได้ยินอยู่บ่อยครั้งในข่าว ซึ่งสารนี้เป็นผลิตภัณฑ์จากกระบวนการหมักพืชผลทางการเกษตรที่มีองค์ประกอบของแป้งหรือน้ำตาลสูงและกลั่นให้บริสุทธิ์ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น จึงสามารถนำไปบริโภค หรือใช้ทางการแพทย์ได้
‘เมทานอล’ และ ‘เอทานอล’ แตกต่างกันอย่างไร
สรุปความแตกต่างของ ‘เมทานอล’ และ ‘เอทานอล’ คือ เมทานอล ไม่สามารถบริโภคได้ ส่วนเอทานอล สามารถนำมาบริโภคได้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเห็นได้อยู่บ่อยครั้งว่ามีการผสมสารเมทานอล เพื่อทำเป็นสุราเถื่อน เนื่องจาก ‘สารเมทานอล’ มีราคาถูกกว่า สารที่สามารถบริโภคได้อย่าง ‘เอทานอล’ จึงมักนำเมทานอลมาผสม เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ถึงแม้จะถูกกว่าแต่การผสมเช่นนี้ก็อันตรายมากเช่นกัน

อันตรายจากเมทานอล
โรงพยาบาลศิครินทร์ ระบุว่าสารเมทานอล สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางการหายใจ รับประทาน และสัมผัสทางผิวหนัง ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย และก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษ Methanol Intoxication หรือภาวะเป็นพิษจากเมทานอล โดยอาจทำให้เสียชีวิตได้

อาการของภาวะเป็นพิษจากเมทานอล
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงถึง 3 วัน หลังได้รับสารเมทานอล อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่มีเมทานอล ร่วมกับเอทานอล จะทำให้อาการเริ่มแรกช้าลงไปอีก

สำหรับอาการเบื้องต้นมีดังนี้

รู้สึกระคายเคืองทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
ความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เช่น ตาพร่า ตามัว แพ้แสง เห็นภาพขาวจ้าไปหมด สูญเสียการมองเห็น
ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย สับสนมึนงง
เกิดอาการชักเกร็ง หมดสติ ในกรณีที่ได้รับสารในปริมาณที่มากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Metabolic acidosis)

ที่มา:sanook

ผู้นำเสนอข่าว

yoko

Written by:

3,729 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *