เยาวชนจาก ๑๘ โรงเรียนในพื้นที่ ๓ จชต. ศึกษาชุมชน ๓ วัฒนธรรมปัตตานี
จาก “แผนที่เดินดิน” ขอบคุณ ศอ.บต จัดกิจกรรมให้เข้ามาสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖ น้อง ๆ เยาวชนจาก ๑๘ โรงเรียนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหวัฒนธรรมแก่เยาวชนในชุมชนเป้าหมาย เดินทางลงพื้นที่สำรวจชุมชนตามแผนที่”เขียนแผนที่เดินดิน” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่น้อง ๆ ทุกคนจะต้องใช้ศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรม
ประเพณีภายใต้วิถีชุมชน วัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้แก่ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวหรือ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู วัดบ้านดี ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบ าราโหม และชุมชนมัสยิดกรือเซะ ตันหยงลุโละอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
นายมูฮัมหมัด บูคอรีลาเตะ นักเรียนโรงเรียนนราสิกขาลัย จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจที่ได้เห็นสภาพความเป็นอยู่ทั้งไทยพุทธ มุสลิม และจีน ที่มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันถึงแม้ จะอยู่กันต่างศาสนาต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรมแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ภายใต้วิถีสังคมพหุวัฒนธรรมด้วยความรักความสามัคคี ซึ่งอยากจะ
เชิญชวนคนทั้งในและนอกพื้นที่ให้เข้ามาสัมผัสวิถีเหล่านี้เพราะถือเป็นสิ่งที่สวยงามและเป็นจุดดึงดูดที่จะทำให้พื้นที่ของเราไม่น้อยหน้าไปกว่าพื้นที่อื่นแน่นอน
ด้านนางสาวอรณิชา ตุ้ยเขียว นักเรียนโรงเรียนนราธิวาส กล่าวขอบคุณโครงการดีๆ แบบนี้ที่ทำให้ตนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ถึงแม้เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการทุกคนละมีความแตกต่างกันทั้งศาสนา เชื้อชาติ แต่เราสามารถแลกเปลี่ยนและแชร์ข้อมูลกันได้ ซึ่งหลังจากนี้หากมีโอกาสตนอยากจะเป็นกระบอกเสียงในการนำเสนอเรื่องราวดี ๆ ให้คนที่ยังไม่เคยได้เข้ามาสัมผัสต่อไป
ขณะที่อาจารย์วาริน นาราวิทย์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวด้วยว่าพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งด้านอัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเยาวชนในยุคปัจจุบันไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้ามาสัมผัสหรือแลกเปลี่ยนกันไม่ว่าจะเป็นทั้งความเชื่อความศรัทธา ศาสนาวัฒนธรรม ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวนั้นอยากจะนำน้อง ๆ เยาวชนจากโรงเรียนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีทั้งโรงเรียนที่เป็นสายสามัญและศาสนาได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ความแตกต่างทำความรู้จักกันซึ่งกันและกันรวมถึงได้เรียนรู้สัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนภายในชุมชนที่มีทั้งพี่น้องไทยพุทธ มุสลิมและจีนจากประสบการณ์และสถานที่จริง เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำสิ่งที่ได้รับไปถอดบทเรียน ต่อยอดและขยายผลต่อไปให้รับทราบรู้พร้อมร่วมกันเปลี่ยนแปลงชุมชนของตนเองให้มีความสุข สร้างความรักความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และทำให้สภาพพื้นที่ตลอดจนเศรษฐกิจให้กับมาคึกคักตามเดิม