รองเลขาธิการ ศอ.บต. หารือแนวทางการพัฒนโครงการนวัตกรรมที่ จำเป็นต่อการพัฒนาภาคใต้ชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
วันนี้ (9 พฤษภาคม 2566) ที่ ห้องประชุมใหญ่ 303 อาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต.) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการพัฒนา
โครงการนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาภาคใต้ชายแดน โดยมี นายธีรวิทย์ เทียรฆโรจน์ ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจการพิเศษ ผู้แทนจาก หน่วยจัดการนวัตกรรมภาคใต้ชายแดน ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการ
ส่งออกคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Zoom Meeting


โดยที่ ประชุมมีการนำเสนอภาพรวมหน่วยจัดการนวัตกรรมภูมิภาคใต้ชายแดน โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติซึ่งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กำหนดให้พื้นที่ ภาคใต้ชายแนเป็นพื้นที่พัฒนาพิเศษ มีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ชายแดนให้มีศักยภาพในการทำธุรกิจ ด้วยการเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้องค์การความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน โดย ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม ได้แก่ หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมสำหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ กิจกรรมการพัฒนาและสร้างโอกาสทางด้านธุรกิจนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ สำหรับผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน และในปี2566 นี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ดำเนินโครงการนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสรหาและพัฒนาโครงการน วัตกรรมทั้ง
ด้านเศรษฐกิจและสังคม สู่การสนับสนุนทุนนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ นักธุรกิจ ในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน


นอกจากนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ยังมีเป้าหมายในการประสานงานเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศด้านนวัตกรรมในพื้นที่ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและพัฒนาภูมิภาคใต้ชายแดนให้บรรลุประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์ของพื้นที่ จึงได้มีการจัดทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาภูมิภาคใต้ชายแดนขึ้น ผ่านการหารือและรวบรวมความคิดเห็นจาก 3 กลุ่ม ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มนักธุรกิจ และสถาบันการศึกษา ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์หรือนโยบายการพัฒนาแนวทางโครงการนวัตกรรมๆ รวมถึงสามารถเป็นแบบแผนในการพัฒนโครงการนวัตกรรมฯ ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างยั่งยืนในอนาคต



ทั้งนี้ นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต. ได้ให้แนวทางในการดำเนินการพัฒนาโครงการนวัตกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาภาคใต้ชายแดน ในเรื่องของการส่งเสริมด้านการเกษตรโดยใช้นวัตกรรม อาทิ ยางพารา การเพิ่มมูลค่า/การแปรรูปผลไม้ในพื้นที่ อาทิ
การใช้นวัตกรรมในการยืดอายุลองกอง การผลิตอาหารสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำ นวัตกรรมการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทนทานสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ ปลูกง่าย มีผลผลิตดี การต่อยอดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้ธนาคารสื่อสร้างสรรค์ของ ศอ.บต. รวมทั้ง การคัดสรรบุคลากรที่มีความสามารถเข้าสู่ระบบ เพื่อปรับมาตรฐานให้กับคนในพื้นที่เทียบเท่าภูมิภาคอื่น อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ก่อให้เกิดระบบนวัตกรรมให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ขายแดนอย่างยั่งยืน