รองเลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมหารือแนวทางการพัฒนาเรือไฟฟ้าต้นแบบ เพื่อเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างครบวงจร

รองเลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมหารือแนวทางการพัฒนาเรือไฟฟ้าต้นแบบ เพื่อเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างครบวงจร

รองเลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมหารือแนวทางการพัฒนาเรือไฟฟ้าต้นแบบ เพื่อเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต และพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างครบวงจร

วันนี้ (12 พฤษภาคาม 2566) ที่ บริษัท ลันตาครูซ จำกัด 93 ม. 10 ตำบลเกาะกลาง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ นายชนธัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วย นายธิติ ส่งตระกูล ประธานกรรมการบริษัท ลันตาครูซ จำกัด ศ.ดร. มิตรชัย จงเชี่ยวชำนาญ ผศ.ดร.มนตรี เลื่องชวนนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายอภิวัฒน์ ถาวรแก้ว นักพัฒนานวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมประชุมหารือวางกรอบการพัฒนาต้นแบบเรือขนส่ง/เรือท่องเที่ยว และเรือประเภทอื่น ๆ โดยใช้พลังงาน Hybrid (น้ำมัน/ไฟฟ้า/ลม) เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดแกนนำเชื่อมโยงไปยังกลุ่มจังหวัดในเขตอันดามัน ประกอบด้วย จ.ตรัง จ.กระบี่ จ.พังงา และ จ.ภูเก็ต เพื่อเป็นการเชื่อมโยงอนุภูมิภาคจังหวัดชายแดนภาคใต้และภูมิภาคอันดามันในการพัฒนาอุตสาหกรรมและการต่อเรือเพื่อจะเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตรองรับการพัฒนาระดับภูมิภาคได้ เสริมศักยภาพทั้งด้านการท่องเที่ยว การขนส่ง และการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการต่อเรือทั้งระบบและครบวงจร เชื่อมโยงทั้งด้านการเกษตร, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การพัฒนาภาคธุรกิจและการยกระดับทั้ง 2 ภูมิภาค ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งและการท่องเที่ยวทางเรือในอนาคต ซึ่งทั้ง 2 มีศักยภาพและต้องการการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ที่ประชุมฯ มีข้อตกลงในการประสานการทำงานไปสู่ความสำเร็จ เบื้องต้น โดย ศอ.บต. จะไปทำข้อมูลการหารือและแผนการทำงานทั้งหมดไปหารือร่วมกับเอกอัครราชทูตทูร์เคีย ประจำประเทศไทย ในต้นเดือนมิถุนายน 2566 ที่จะถึงนี้ และจะได้จัดหาแผนการพัฒนาทั้งระบบเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ในการประชุมโอกาสแรกหลังการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีสมาพันธ์ธุรกิจต่อเรือประเทศทูร์เคีย เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญรองรับการพัฒนาต่อไป จากนั้นจะเป็นการทำบันทึกความเข้าใจ 3 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับรัฐกับรัฐ (Government to Government: G2G) 2. สถาบันการศึกษา กับ สถาบันการศึกษา และ 3. บริษัท ลันตาครูซ จำกัด กับ สมาพันธ์ธุรกิจต่อเรือประเทศทูร์เคีย ซึ่งทั้ง 3 ส่วน ได้เตรียมความร่วมมือพอสมควรแล้ว และจะได้ดำเนินการตามแนวความร่วมมือในระยะต่อไป โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีความต้องการการพัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือและการคมนาคม ขนส่งระหว่างไทย-ทูร์เคีย ที่มีความต้องการการต่อเรือระดับสูง อย่างน้อย 200 ลำต่อปี (กรอกเกิดมูลค่าไม่น้อยกว่าปีละ 20,000 ล้านบาท) บนเงื่อนไขความร่วมมือของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำเช่นเดียวกับประเทศทูร์เคียในไม่กี่ปีข้างหน้านี้

พร้อมนี้ ที่ประชุมจะได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีพิเศษเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว และการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยจะมีความร่วมมือการพัฒนาที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานในอุตสาหกรรมการต่อเรือ 2. การพัฒนาเทคโนโลยี Water jet / Hydro fliud 3. การเสริมโมเดลเรือดูดทราย เพื่อเสริมการทำงานให้กับท้องถิ่นในพื้นที่ทั้ง 2 ภูมิภาค เพื่อให้บริการดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ของตนเองได้โดยไม่ต้องรอการช่วยเหลือจากส่วนกลางมากเช่นที่ผ่านมา

การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานของภาคใต้ ถือว่ามีการพัฒนาอย่างก้าวหน้าและพร้อมสูงสุดสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอด อาทิ พลังงานแสงแดด พลังงานลม และแบตเตอรี่ตัวเก็บประจุยิ่งยวด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายจากพลังงานระบบเดิมซึ่งมีการพัฒนาโมเดลมามากพอสมควรแล้ว เป็นความน่ายินดีที่ความร่วมมือระหว่าง รัฐ-สถาบันการศึกษา-เอกชนทั้งในและต่างประเทศ จะได้พัฒนาเดินหน้าไปพร้อมกัน หากเดินหน้าด้วยแผนการพัฒนาตามที่หารือร่วมกันนี้ จะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล โดยเฉพาะมีความเหมาะสมกับภูมิภาคใต้ ที่นอกจากจะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างงานเฉพาะที่มีทักษะและองค์ความรู้เรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมีความร่วมมือกับสมาพันธ์ธุรกิจต่อเรือประเทศทูร์เคีย ซึ่งจะทำให้การพัฒนามีความเข้มแข็งต่อเนื่องและยั่งยืนในระยะยาว ถือเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องให้ความสนใจและผลักดันเชิงนโยบายให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ทั้งนี้ เรือไฟฟ้าถือเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต สามารถพัฒนาให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานได้ หากมาตรฐานเรือไฟฟ้าแล้วเสร็จจะถือเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการต่อเรือไฟฟ้าขึ้นไปอีกระดับ เพราะมีนวัตกรรมและมาตรฐานการผลิตที่ได้การยอมรับในระดับสากล สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนผู้ใช้บริการในระบบขนส่งสาธารณะของประเทศได้ จึงนับเป็นความก้าวหน้าสำคัญของการคมนาคมทางน้ำของไทย ในการสนับสนุนนโยบาย EV ของรัฐบาล เพื่อร่วมกันประหยัดพลังงาน ลดมลพิษทางน้ำและอากาศ ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันอีกด้วย

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *