มอ. วิจัย ยกระดับยางพารา สร้างสินค้าจากหวายเทียม วัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ด้านหน่วยราชการ พร้อมหนุน นำหวายเทียมแปรรูป สร้างรายได้ แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่

มอ. วิจัย ยกระดับยางพารา สร้างสินค้าจากหวายเทียม วัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ด้านหน่วยราชการ พร้อมหนุน นำหวายเทียมแปรรูป สร้างรายได้ แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่

มอ. วิจัย ยกระดับยางพารา สร้างสินค้าจากหวายเทียม วัสดุยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ด้านหน่วยราชการ พร้อมหนุน นำหวายเทียมแปรรูป สร้างรายได้ แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่

วันนี้ (29 มีนาคม 2566) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดการประชุมเสนอแนวทางงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติ เทอร์โมพาสติก ตามแนวทางเศรษฐกิจใหม่ BCG (หวายเทียม) โดยมี นายวิสันต์ ประเสริฐศรี ผู้ช่วยเลขาธิการ เป็นประธานการประชุม โดยงานวิจัยดังกล่าว ดำเนินการภายหลัง ศอ.บต. ร่วมกับสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) หนุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นไปยังกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โดยมีงานวิจัย 3 ผลงาน ที่พร้อมนำร่องในการใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ งานวิจัยการพัฒนาวัสดุยางธรรมชาติฯ ก็เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่จะนำไปพัฒนาพื้นที่ชายแดนใต้ในครั้งนี้ด้วย

ดร.ณัฐพนธ์ อุทัยพันธุ์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงงานวิจัยดังกล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้ สืบเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอาชีพเป็นเกษตรกรสวนยางพารา จึงดำเนินการวิจัยเพื่อยกระดับยางพารา ให้สามารถแปรรูป สร้างมูลค่า เพิ่มรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ ให้มีความมั่นคงทางด้านรายได้ โดยทางทีมวิจัยได้จัดทำงานวิจัยเป็นเส้นหวายเทียม จากยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เพื่อลดการใช้พลาสติก ซึ่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลในปัจจุบัน โดยขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมให้มีการแปรรูปหวายเทียมจากยาง สานเป็นกระเป๋าแฟชั่น และสินค้าอื่นๆ เพื่อตอบโจทย์ตลาดสินค้าแฟชั่นภายในประเทศ พร้อมขยายเป็นอาชีพแก่กลุ่มคนเปราะบางในพื้นที่ ให้มีรายได้ที่ยั่งยืนในอนาคต

สำหรับ ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เป็นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวคิดในการลดปัญหาพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ลดการใช้ขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหารและสินค้าบริโภคซึ่งมีการใช้งานมากขึ้นในปัจจุบัน โดย ยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก สามารถแปรรูปได้ง่ายและเร็ว สามารถอัดรูปเป็นสินค้าต่างๆได้อย่างหลากหลาย

ด้านผู้แทน ศอ.บต. และผู้เข้าร่วมประชุมผ่านระบบซูม ต่างหนุน นำหวายเทียมจากยางพาราสร้างอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะผู้ปกครองของเด็กพิการในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการของศอ.บต. ภายใต้การขับเคลื่อนงานตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *