เช้าวันอังคาร ค่าฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

เช้าวันอังคาร ค่าฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ค่าฝุ่น PM 2.5 เช้านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด พร้อมเตือนวันที่ 3 เม.ย. พื้นที่ กรุงเทพฯ อาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่

เฟซบุ๊ก กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความโดยระบุว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 28 มี.ค.2566 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 15-32 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 22.2 มคก./ลบ.ม. ค่า PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด

สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 28 มี.ค.-2 เม.ย.2566 มีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีตลอดช่วง ประกอบกับมีสภาพอากาศเปิด ทำให้ PM 2.5 สามารถแพร่กระจายได้ดี ส่งผลให้คุณภาพอากาศดีในช่วงวันที่ 28-29 มี.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะถัดไปจึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่เกิดขึ้นไว้ด้วย และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง

ส่วนในวันที่ 28 มี.ค.-2 เม.ย. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตาม วันที่ 3 เม.ย. 2566 พื้นที่ กรุงเทพมหานคร อาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่จากบริเวณทิศตะวันตกได้

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 27 มี.ค. 2566 จำนวน 2 จุด ดังนี้

จุดที่ 1 เวลา 13.12 น. แขวงออเงิน เขตสายไหม

จุดที่ 2 เวลา 13.59 น. แขวงลำต้อยติ่ง เขตหนองจอก (อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดเผาทั้ง 2 จุด).

ขอบคุณเฟซบุ๊ก กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *