สพฐ.เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง “อัมพร” ยอมรับ “คอมฯ-แท็บเล็ต” ยังมีไม่พอ

สพฐ.เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง “อัมพร” ยอมรับ “คอมฯ-แท็บเล็ต” ยังมีไม่พอ

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง เพื่อรวบรวมระบบงานหลักของ สพฐ.ในการใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐานแล้วดังนี้

1.ระบบบริหารข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) เป็นระบบที่พัฒนาเพื่อบริหารจัดการงบประมาณให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2.ระบบบริหารงานบุคคล (HRMS) ในสังกัด สพฐ.

3.ระบบงานทะเบียนวัดผล (SGS)

4.ระบบบริหารงานที่ดินสิ่งก่อสร้าง (B-OBEC)

5.ระบบงานสารบรรณ (Smart Obec)

6.ระบบติดตามสุขภาพจิตนักเรียน (School Health Hero)

และ 7.ระบบฐานข้อมูลครู นักเรียน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (SET) เป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลนักเรียนของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ซึ่งทั้งหมดนี้พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลนักเรียน ข้อมูลบุคลากร งบประมาณ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน เป็นระบบงานคอมพิวเตอร์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยตรง เป็นระบบอัตโนมัติที่จะนำมาแทนที่การปฏิบัติงานแบบเดิม

“ระบบเทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางควรเป็นภาพรวมใหญ่ของประเทศ ซึ่ง สพฐ.เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เด็กและเยาวชนตั้งแต่อนุบาล 3 ขวบถึง ม.ปลาย มีครู และบุคลากรทางการศึกษา 5 แสนกว่าคน ดูแลนักเรียนในสังกัดมากกว่า 6.5 ล้านคน ดังนั้น เรารอไม่ได้และถ้าไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ก็จะไม่ทันการณ์ สพฐ.จึงได้พัฒนาระบบของเราขึ้น และจากการใช้งานระบบที่พัฒนาพบว่า เรื่องเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการเป็นไปในทิศทางที่ดี เราสามารถดึงข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการบริหารได้หมด แต่เรื่องเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนนั้น ประสิทธิภาพยังไม่เต็มที่ ทั้งในส่วนของซอฟต์แวร์ โปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ รวมไปถึงเรายังไม่สามารถจัดหาเครื่องมือให้ครูและนักเรียนได้อย่างเพียงพอ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เครื่องมือต่างๆ ควรมีทุกโรงเรียน เพียงพอและทันสมัย มีอินเตอร์เน็ตครอบคลุมพื้นที่ อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ เป็นต้น” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว.

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
เว็บไซต์ : https://www.thairath.co.th/

ผู้นำเสนอข่าว

Hnoy

Written by:

3,869 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *