สคอ.-สสส. ดึงพลังสื่อร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน หนุนจับมือท้องถิ่นใช้ข้อมูลพื้นที่สื่อสาร สะท้อนผลกระทบ สร้างความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน

สคอ.-สสส. ดึงพลังสื่อร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน หนุนจับมือท้องถิ่นใช้ข้อมูลพื้นที่สื่อสาร สะท้อนผลกระทบ สร้างความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน

สคอ.-สสส. ดึงพลังสื่อร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน หนุนจับมือท้องถิ่นใช้ข้อมูลพื้นที่สื่อสาร สะท้อนผลกระทบ สร้างความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน
วันที่ 10 พ.ค. 66 ที่ โรงแรมทีเค.พาเลซ แอนด์คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กทม. – สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยทางถนน ระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานและร่วมวางแผนสื่อสารประชาสัมพันธ์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยมีผู้บริหาารและแกนนำสื่อจากทั่วประเทศ นำโดย นายพรหมมินทร์ กัณธิยะ ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย (สนพท.) นายสุทนต์ กล้าการขาย นายกสมาคมสื่อช่อสะอาด นายวิริยา ธรรมเรืองทอง นายกสมาคมเคเบิลทีวีและโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (TCTA) นายบำรุง วสันตกรณ์ ประธานกรรมการนโยบายสถานีไทย เคเบิล บรอดแคสติ้ง นายวิวรรธน์ แพ่งสุภา ประธานชมรมสื่อออนไลน์ภาคเหนือ 17 จังหวัด และภาคีสื่อมวลชนกว่า
40 คนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้
นายพรหมมินทร์ กล่าวว่า ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนยังคงน่าเป็นห่วง มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตตุทางถนนวันละ 50-60 คน ปีละ 20,000 กว่าคน แม้ว่าภาพรวมสถิติตัวเลขช่วงสงกรานต์ 2566 ที่ผ่านมาจะดีขึ้น ผู้เสียชีวิตลดลง โดย
สงกรานต๋ปี 2565 เสียชีวิต 278 รายและในปี 2566 จำนวน 264 ราย แต่สาเหตุหลักของอุบัติเหตุทางถนนยังคงเกิดจากการดื่มแล้วขับ ขับรถเร็ว และการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุมีอัตราการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต ดังนั้นบทบาทสื่อมวลชนจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยร่วมนำปรากฎการณ์เหล่านี้ รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ มาพูดคุย วิเคราะห์และส่งต่อไปยังประชาชนและผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ อยากให้สื่อมวลชนช่วยวิเคราะห์ปัจจัยร่วม เช่น คนขับ อายุ เพศ วัย พฤติกรรมก่อน-หลังขับเป็นอย่างไร สภาพรถ สิ่งเหล่านี้คือตัวแปรร่วมที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ จึงควรนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ให้สังคมรับรู้และขับเคลื่อนแก้ไข สื่อสารจนนำไปสู่การมีเจ้าภาพในพื้นที่และมีการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
นายพรหมมินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางขับเคลื่อนร่วมกันในอนาคต อยากเห็นการทำงานในระดับพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เกิดการประสานความร่วมมือของสื่อมวลชนในแต่ละภาคที่เป็นตัวจริง เสียงจริง มาร่วมขับเคลื่อนเรื่องอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจัง เช่น การไปจับมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ร่วมทำงานกับกลไก ศปถ.ระดับอำเภอ ระดับท้องถิ่น ที่จะสนับสนุนให้เกิดเวทีประชาคม นำปัญหา อุปสรรค ตลอดจนความเสี่ยงในพื้นที่มาพูดคุย โดยเบื้องต้นอาจคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการจากอำเภอเสี่ยงสีแดงที่มีปัญหาอุบัติเหตุสูงตามฐานข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานไว้เป็นตัวตั้งก็ได้ จากนั้น สื่อนำข้อมูลความเสี่ยง การถอดบทเรียนในพื้นที่นำมาเผยแพร่ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และระดมภาคีทุกภาคส่วนช่วยสนับสนุน แก้ไขจุดเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง โดยอาศัยการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมเป็นกระบอกเสียง สะท้อนปัญหาผู้ได้รับผลกระทบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางถนนอย่างเป็นระบบและมีความยั่งยืนต่อไป

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *