พช.ลำพูน ร่วมกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

พช.ลำพูน ร่วมกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

พช.ลำพูน ร่วมกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. : ที่ วัดทาสบเมย ตำบลทาขุมเงิน อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน นางบำเพ็ญ เมืองมูล พัฒนาการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นางสาวสมหมาย ประทุมเทพ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ ร่วมกิจกรรมการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยมี นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดกิจกรรมฯ พร้อมด้วย นายโยธิน ประสงค์ความดี ปลัดจังหวัดลำพูน นายบุญส่ง ไชยมณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน นายรุ่งโรจน์ สุนทร ท้องถิ่นจังหวัดลำพูน นายประกอบ ยอดยา นายอำเภอเเม่ทา หัวหน้าส่วนราชการ นายณัฐวุฒิ มณีวรรณ รักษาราชการพัฒนาการอำเภอแม่ทา นายกเทศมนตรีตำบลทาขุมเงิน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลทาขุมเงิน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรม

นายประกอบ ยอดยา นายอำเภอแม่ทา กล่าวว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และขับเคลื่อนกลไกการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ทั้ง 7 ภาคี ในระดับพื้นที่ให้เดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณประโยชน์ ที่ส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง การปรับเปลี่ยนค่านิยมให้เสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อแบ่งปันผู้อื่น โดยอาศัยหลักการทรงการ และการพัฒนาประเทศ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติราชการ และขยายผลการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” อำเภอแม่ทา จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง มีเสถียรภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยบูรณาการทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุเป้าหมายตำบลเข้มแข็ง ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความมั่นคง มิติด้านความมั่งคั่ง และมิติความยั่งยืน ด้วยการดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. พัฒนาสถานที่บริเวณหลังวัดทาสบเมย ให้เป็นคลังอาหารของชุมชนและเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้กิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนำผลิตผล เช่น พันธุ์พืชผักสวนครัว พันธุ์พืชสมุนไพร ไปปลูกขยายพันธุ์ในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือน โดยการบูรณาการองค์ความรู้และความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆเพื่อเป็นการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันรองรับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตต่างๆ
2.จัดทำฝายชะลอน้ำ บริเวณลำน้ำแม่เมย ห่างจากคลังอาหารชุมชนตำบลทาขุมเงินไปประมาณ 500 เมตร เป็นฝายชะลอน้ำกึ่งถาวร โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นกิ่งไม้ ก้อนหิน เพื่อกั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆ ให้ไหลช้าลง และขังอยู่ในพื้นที่นานพอ ที่จะให้พื้นที่รอบๆดูดซึมไปใช้ เป็นการฟื้นฟูพื้นป่าที่เสื่อมโทรมให้เกิดความชุ่มชื้นมากพอที่จะพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์ขึ้นได้

นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า การขับเคลื่อนโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข หรือ CAST (Change Agent for Strategic Transformation) ของอำเภอแม่ทาในวันนี้ นับว่าเป็นการต่อยอดความสำเร็จและส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ด้วยการพัฒนาสถานที่บริเวณหลังวัดทาสบเมย โดยมี “การน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว สร้างความมั่นคงทางอาหาร” ให้เป็นคลังอาหารของชุมชน สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้กิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติที่เกิดผลสัมฤทธิ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันรองรับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤตต่างๆ ตลอดจนการจัดทำฝายชะลอน้ำ ที่จะช่วยทำให้ดินมีความชุ่มชื้น ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ

จังหวัดลำพูน ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ด้วยการบูรณาการ 2 ประเภท คือ 1) การบูรณาการในเรื่องของ “ทีม” ด้วยการสร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคศาสนา ภาควิชาการ และภาคสื่อสารมวลชน และ 2) การบูรณาการในเรื่องของ “งาน” ที่มาจากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายในพื้นที่ เกิดเป็นทีมงานที่จะช่วยกันพัฒนาให้บ้านเมืองเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ให้จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่ “ลำพูนไม่ลำพัง รวมพลังเพื่อลำพูน”

ทั้งนี้ ขอขอบคุณ นายอำเภอแม่ทา หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ทุกตำบล ที่ได้มีส่วนสนับสนุน และขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน ดำเนินการจัดกิจกรรมฯ ให้ประสบผลสำเร็จ

ที่มา:ข่าวความมั่นคงออนไลน์

ผู้นำเสนอข่าว

ยัยแม่มด

Written by:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *