เลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมลงนาม MOU กำหนด ระเบียบวาระ “จังหวัดชายแดนภาคใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี 2570” ในการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นชายแดนใต้

เลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมลงนาม MOU กำหนด ระเบียบวาระ “จังหวัดชายแดนภาคใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี 2570” ในการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นชายแดนใต้

เลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมลงนาม MOU กำหนด ระเบียบวาระ “จังหวัดชายแดนภาคใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี 2570” ในการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นชายแดนใต้

วันนี้ (9 พฤษภาคม 2566) เวลา 11.30 น. โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นประธานเปิดการลงนาม พร้อมร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กำหนดวาระ “จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี 2570” จัดโดยสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดใช้แดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ได้ดำเนินโครงการ “การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ต้ังครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอาเภอ (พชอ.) และ ภาคีเครือข่ายสุขภาพ: กรณีจังหวัดชายแดนใต้” จำนวน 19 อำเภอ ระยะดำเนินงาน 20 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และสิ้นสุดวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ในการนี้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า สถานการณ์ด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงของมนุษย์ มีผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อตัวอยู่ภายใต้โครงสร้างทางสังคม จากปัญหาครัวเรือนยากจน ปัญหาการว่างงาน และการเข้าถึงการศึกษาที่จำเป็น ดังนั้น การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจและระบบบริการทางสังคม จะนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นได้อย่างครบวงจร อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพในจังหวัดชายแดนใต้นั้น ควรคำนึงถึงบริบทพื้นที่ ทุนทางสังคม ศาสนา วัฒนธรรมและมิติอื่น ๆ รวมทั้ง สภาพความเป็นจริงในแบบแผนการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน ศอ.บต. ได้เล็งเห็นถึงสถานการณ์เหล่านี้มาโดยตลอด และได้มีการสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ โดยเชื่อมประสานระหว่างรัฐกับประชาชน เช่น การส่งเสริมบทบาทสตรีแกนนำในระดับหมู่บ้าน เพื่อเป็นเครือข่ายในการดูแลเด็กและสตรีกลุ่มเปราะบาง และการเสริมพลังอำนาจในการตัดสินใจในกลไกที่มีในระดับพื้นที่ ได้แก่ สภาสันติสุขตำบล ศูนย์ช่วยเหลือสังคม ยุติธรรมชุมชน เพื่อเป็น
เครือข่ายร่วมสร้างการดูแลปกป้องคุ้มครองเด็กและสตรี เป็นต้น และ วันนี้ ศอ.บต. มีความยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น พ.ศ. 2559 และกฎกระทรวงตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา รวมทั้งยุทธศาสตร์การดำเนินงานในระดับชาติ พ.ศ. 2560 -2569

ด้าน ดร. ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สถานการณ์การตั้งครรภ์วัยรุ่นในประเทศไทย เริ่มมีแนวโน้มลดลงในทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งการตั้งครรภ์ซ้ำ ในขณะเดียวกันในสามจังหวัดชายแดนใต้ พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูณณ์นั้น ยังคงมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยท้ังในระดับเขตและระดับประเทศ โดยผลการสำรวจล่าสุดพบว่า ในปี 2565 ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี ในจังหวัดยะลาอยู่ที่ร้อยละ 18.29 จังหวัดปัตตานีร้อยละ 19.85 และ จังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 20.71 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับเขตสุขภาพที่ 12 ร้อยละ 16.18 และระดับประเทศ ร้อยละ 14.29 พร้อมกันนี้ ทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส.มอ.) ได้ดำเนินโครงการ “การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการ ต้ังครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ ภาคีเครือข่ายสุขภาพ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 19 อำเภอ ระยะดำเนินงาน 20 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และสิ้นสุดวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยได้รับการสนับสนุนการดาเนินงานหลัก จากสานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. นั้น พบว่าได้เกิดรูปแบบการดำเนินงานการบูรณาการภาคีเครือข่าย และ การมีส่วนร่วมที่มาจากหลาย ภาคส่วน เกิดมาตรการชุมชน และนโยบายสาธารณะท้ังในเชิงป้องกันและแก้ไขปัญหาการต้ังครรภ์วัยรุ่น ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการต้ังครรภ์วัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 ในอำเภอต่อไปนี้ 1. อำเภอรามัน กาบัง บันนังสตา ธารโต และ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา 2. อำเภอเมือง ยะหริ่ง หนองจิก แม่ลาน ยะรัง สายบุรี และ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และ 3. อำเภอบาเจาะ ตากใบ แว้ง ศรีสาคร เจาะไอร้อง ยี่งอ และอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

สำหรับ ระยะเวลาความร่วมมือบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทุกฝ่ายลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทั้งนี้ การยกเลิกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสามารถทำได้ โดยฝ่ายที่มีความประสงค์ยกเลิกต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกฝ่ายทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 90 วัน ได้มีการวางแผนบทบาทหน้าที่คณะทำงาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องภาคีเครือข่าย ดึงเข้ามามีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน แลกเปลี่ยนความรู้ และหารือในวงประชุม วางแผนการดำเนินงานในพื้นที่โดยเฉพาะผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ สาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และโรงเรียนเอกชนศาสนาอิสลาม ให้เป็นตัวเชื่อมประสานงาน ภายใต้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเยาวชนที่ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เหมาะสมต่อไป

ผู้นำเสนอข่าว

Lemon

Written by:

720 Posts

View All Posts
Follow Me :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *